วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคโฮคุริกุ




อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคโฮคุริกุ 

สาเกญี่ปุ่น (จังหวัดนีงาตะ)


 

         นิฮอนชู (เหล้าญี่ปุ่น) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำจากข้าวและเมล็ดข้าวมอลต์ กลั่นด้วยวิธีดั้งเดิมแบบญี่ปุ่น เหล้าเรียกน้ำย่อยประเภทนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกในชื่อสาเกสามารถนำมาอุ่นให้ร้อนทั้งขวด ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม หรือจะเสิร์ฟที่อุณหภูมิห้องหรือแช่เย็นก็ได้ สาเกรสชาติดีต้องอาศัยข้าวที่ปลูกในผืนดินอุดมสมบูรณ์และมีน้ำสะอาดเลี้ยงไม่ขาด สาเกชั้นเลิศของนีงาตะไม่ได้เป็นผลผลิตจากข้าวและน้ำคุณภาพดีเท่านั้น แต่ยังเป็นผลมาจากความหนาวเย็นในฤดูหนาวซึ่งช่วยบ่มสาเกให้มีรสชาติเป็นเลิศ นีงาตะมีโรงกลั่นชั้นยอดที่เรียกว่า “เอจิโกไต” และแบรนด์สาเกจากนีงาตะมีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ซึ่งผับหลายแห่งจะมีหลายแบรนด์ให้เลือกดื่ม

โฮตะรุอิกะ (จังหวัดโทะยะมะ)

 
      
      โฮตะรุอิกะ (ปลาหมึกหิ่งห้อย) เป็นปลาหมึกพันธุ์เล็กที่พบในอ่าวโทะยะมะ ชื่อปลาหมึกหิ่งห้อยมาจากลักษณะเรืองแสงของผิวปลาหมึกที่จะปล่อยแสงสีขาวอมฟ้า เหมือนหิ่งห้อยเมื่อมีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น โดยปกติปลาหมึกจะอาศัยอยู่ในน้ำลึก แต่จะขึ้นมาบริเวณน้ำตื้นเพื่อวางไข่ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม การชมฝูงปลาหมึกหิ่งห้อยแหวกว่ายในบริเวณอ่าวโทะยะมะเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันใน ฤดูใบไม้ผลิของชาวโทะยะมะ ปลาหมึกหิ่งห้อยสามารถรับประทานเป็นซาชิมิ ต้มหรือหมักในโชยุ ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูและมิโสะ หรือทานแบบชาบู-ชาบู (ต้มในกระทะบนโต๊ะ) ก็ได้ ถ้านำไปตากแห้งสักคืนแล้วย่างสักเล็กน้อยจะได้รสชาติขมนิดๆ เหมาะกับเป็นกับแกล้มเวลาดื่มสาเกอย่างยิ่ง


จิบุนิ (จังหวัดอิชิคะวะ)

 

       จิบุนิเป็นอาหารพื้นเมืองของคะนะซะวะ ทำโดยใช้เนื้อเป็ดหั่นบางๆ ชุบแป้งหรือแป้งมัน แล้วนำไปต้มกับฟุ (โปรตีนข้าวเป็นชิ้นเหมือนขนมปังตากแห้ง) เห็ดชิตาเกะ หน่อไม้ และผักชีญี่ปุ่นในน้ำซุปที่ทำจากน้ำสต็อก มิริน (เหล้าหวานสำหรับปรุงอาหาร) น้ำตาล เกลือ โชยุ และสาเก แป้งหรือแป้งมันที่อยู่ด้านนอกจะช่วยรักษารสชาติของเนื้อและทำให้น้ำสต็อกข้นขึ้น ขูดวาซาบิลงไปก่อนรับประทานเพื่อเพิ่มรสชาติ ชื่อจิบุอาจมาจากชื่อของผู้คิดค้นอาหารเมนูนี้ หรือมาจากเสียงจิบุ-จิบุที่ได้ยินเวลาทำเมนูนี้ แต่เดิมใช้เป็ดป่าในการทำจิบุนิ แต่เนื่องจากปัจจุบันค่อนข้างหายากและมีราคาแพง จึงใช้นิยมใช้เป็ดไอกาโมะ (พันธุ์ผสมระหว่างเป็ดป่ากับเป็ดเลี้ยง) หรือไก่แทน




วัน




ひ hi ฮิ วัน

                
                        (げつようび)      เกะทสึโย่บิ  : วันจันทร์                      
               
                   (かようび)         ขะโย่บิ        : วันอังคาร               

       (すいようび)     ซุยโย่บิ        : วันพุธ          

             (もくようび)       โมะคุโย่บิ    : วันพฤหัสบดี        

          (きんようび)      คิงโย่บิ       : วันศุกร์          
            
          (どようび)         โดะโย่บิ      : วันเสาร์         

 
  (にちようび)      นิจิโย่บิ       : วันอาทิตย์
 

ติดต่อเรา




ติดต่อเรา
                                     

           m5.1watanida@tunu.ac.th

          m5.1maturos@tunu.ac.th 
             
                                                                     m5.1supisra@tunu.ac.th 
          
         m5.1nattarika@tunu.ac.th




เดือน ทั้ง12



เดือนทั้ง 12 เดือน



                         
                                            1.(いちがつ)             อิจิกะทสึ : มกราคม
                                   
                                            2.(にがつ)                นิกะทสึ : กุมภาพันธ์

                                            3.(さんがつ)             ซังกะทสึ : มีนาคม 

                                            4.(しがつ)                ชิกะทสึ : เมษายน 

                                            5.(ごがつ)                โก๊ะกะทสึ : พฤษภาคม 

                                            6.(ろくがつ)              โระคุกะทสึ : มิถุนายน 

                                            7.(しちがつ)              ชิจิกะทสึ : กรกฎาคม

                                            8.(はちがつ)             ฮะจิกะทสึ : สิงหาคม 

                                            9.(くがつ)                  คุกะทสึ : กันยายน 

                                            10.(じゅうがつ)            จูกะทสึ : ตุลาคม 

                                            11. (じゅういちがつ)     จูอิจิกะทสึ : พฤศจิกายน 


                                            12.(じゅうにがつ)         จูนิกะทสึ : ธันวาคม




สี


(色)(iro) =  สี



                                   1. 青 (あお)(ao)   =    สีน้ำเงิน

                                   2. 赤い(あか)(aka)  =     สีแดง

                                   3. 黄色(きいろ)(kiiro)  =     สีเหลือง

                                   4. 紫(むらさき)(murasaki)  =     สีม่วง

                                   5. 緑色(みどり)(midori)  =     สีเขียว

                                  6. 茶色(ちゃいろ)(chairo)  =     สีน้ำตาล

                                   7.    黒(くろ)(kuro)  =     สีดำ

                                   8. 白(しろ)(shiro)  =     สีขาว

                                   9. グレー (gure) หรือ 灰色(はいいろ)(haiiro)  =     สีเทา

                                   10. ピンク  (pinku)  =     สีชมพู

                                   11. 桃色(ももいろ)(momoiro)   =    สีพีช
                   
                                   12. ベージュ  (beju)  =     สีเนื้อ

                                    13.  ゴールド (gorudo)  =    สีทอง

                                     14. オレンジ (orenji) =     สีส้ม

                                     15. 水色(みずいろ)(mizuiro)  =     สีฟ้าอ่อน


                                     16. 黄緑(きみどり)(kimiiro)  =    สีเขียวอ่อน




สิ่งของ




(もの)โมะโนะ : สิ่งของ


テレビ เทะเระบิ : โทรทัศน์


扇風機 (せんぷうき)เซ็มปูขิ : พัดลม


エアコン  แอคง : เครื่องปรับอากาศ


カメラ คะเมะระ : กล้องถ่ายรูป


電話 (でんわ)เด็งวะ : โทรศัพท์


携帯電話 (けいたいでんわ)เคไตเด็งวะ : โทรศัพท์มือถือ


時計 (とけい)โทะเคะ : นาฬิกา


コンピューター  คมปิวตา : คอมพิวเตอร์


石鹸 (せっけん) เส็กเค็ง : สบู่


歯磨き (はみがき)ฮะมิงะขิ : ยาสีฟัน


歯ブラシ (はブラシ)ฮะบุระฉิ : แปรงสีฟัน


シャンプー ชัมปู : แชมพู


タオル  ทะโอะหรุ : ผ้าเช็ดตัว


ハンカチ ฮันคะจิ : ผ้าเช็ดหน้า


洗剤 (せんざい) เซ็งไซ : ผงซักฟอก


洗濯機 (せんたくき)เซ็นตะขุคิ : เครื่องซักผ้า


玩具 (おもちゃ)โอะโมะฉะ : ของเล่น


人形 (にんぎょう)นิงเงียว : ตุ๊กตา


皿 (さら)ซะระ : จาน


スプーン สุปูน : ช้อน


フォーク โฟขุ : ส้อม


茶碗 (ちゃわん)ฉะวัง : ชาม


ナイフ ไนฝุ : มีด

อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคจูบุ/โตไก


อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคจูบุ/โตไก 
โฮโต (จังหวัดยะมะนะชิ)


      โฮโตเป็นอาหารพื้นเมืองของจังหวัดยะมะนะชิ เป็นเส้นคล้ายเส้นอุด้ง (เส้นแป้งสาลี) ในซุปมิโสะ และใส่ฟักทองและผักอื่นๆ เส้นโฮโตจะกว้างและแบนกว่าเส้นแป้งสาลีทั่วไป และจะใส่ลงในหม้อแบบสดๆ โดยไม่ต้มก่อน เส้นโฮโตกับฟักทองนิ่มๆ ในน้ำซุปมิโสะเป็นอาหารเลิศรส อาจเติมผักอื่นๆ ลงไปด้วยตามชอบ เช่น มันฝรั่ง และเห็ดต่างๆ รวมทั้งเนื้อหมูและเนื้อไก่ ตามความเชื่อโบราณเชื่อกันว่าถ้ากินฟักทองในวันทักษิณายัน (วันที่กลางวันสั้นที่สุดในรอบปี ประมาณวันที่ 22 ธันวาคม) แล้วจะไม่เป็นหวัด และประเพณีนี้มีการถือปฏิบัติกันในจังหวัดยะมะนะชิ โฮโตอุ่นๆ ใส่ฟักทองมากคุณค่าจะทำให้คุณรู้สึกอุ่นขึ้นในวันที่อากาศหนาวเย็นอย่างแน่นอน

อุนางิหรือปลาไหล (จังหวัดชิซุโอะกะ)


       ทะเลสาบฮะมะนะซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำจืดและน้ำเค็มมาบรรจบกันเป็นแหล่ง เพาะเลี้ยงปลาไหลที่มีชื่อเสียง ปลาไหลมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และญี่ปุ่นมีประเพณีในการกินปลาไหลในฤดูร้อนซึ่งอากาศร้อน และความชื้นมักทำให้คนไม่อยากอาหาร ปลาไหลนำมาทำเป็นอาหารได้หลายวิธี แต่ที่นิยมที่สุดคือคะบะยะกิ (ปลาไหลย่างถ่าน) ในแถบคันโตจะนำชิ้นเนื้อปลาไหลมาย่างบนเตาถ่านแล้วนำไปนึ่ง จากนั้นก็นำมาย่างด้วยความร้อนปานกลางอีกครั้งและทาน้ำมันไปด้วยขณะที่ย่าง ส่วนในแถบคันไซจะนำปลาไหลทั้งตัวที่ควักไส้ออกแล้วมาเสียบไม้ย่างและทาน้ำมันไปด้วย อุนาจูหรืออุนาดงที่มีปลาไหลย่างโปะบนข้าวสวยร้อนๆ ราดด้วยน้ำซอสเพิ่มรสชาติเป็นเมนูยอดนิยมตลอดกาลไม่ว่าในฤดูใด ร้านอาหารหลายแห่งบริเวณทะเลสาบฮะมะนะมีเมนูเหล่านี้ในรายการอาหาร

มิโสะคัตสึ (จังหวัดไอจิ)


        มิโสะคัตสึซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตในจังหวัดไอจิ คือทงคัตสึ (หมูชิ้นทอด) ที่ราดด้วยซอสที่ทำจากมิโสะ โดยปกติทั่วประเทศญี่ปุ่นจะกินหมูชิ้นทอดกับซอสที่คล้ายๆ ซอสวูสเตอร์ แต่ในภูมิภาคโตไกซึ่งมีเมืองนาโงย่า จะใช้ซอสต้นตำรับที่ทำจากมิโสะแทน เมื่อคุณสั่งหมูชิ้นทอดที่ร้านอาหารในนาโงย่า พนักงานอาจถามคุณว่า “รับมิโสะหรือซอส?” มิโสะที่นำมาใช้คือฮัจโจ-มิโสะที่มีการปรุงรสอย่างดีและเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดไอจิ ซอสมิโสะจะมีความหวานจากน้ำซุปปลาโอและน้ำตาล ถ้าคุณไปแถวนาโงย่าต้องไม่พลาดชิมมิโสะคัตสึ ส่วนในเมืองอื่นๆ คุณอาจพบมิโสะคัตสึที่ใส่มิโสะอยู่ระหว่างตัวแป้งกับเนื้อหมู ไม่ใช่ราดลงบนชิ้นหมูทอดหลังจากที่ทำเสร็จแล้ว

มิโสะนิโคมิ (จังหวัดไอจิ)



       เส้นอุด้ง (เส้นแป้งสาลี) ในซุปมิโสะสามารถหาทานได้ทั่วไปทุกที่ในญี่ปุ่น แต่มิโสะนิโคมิมักจะหมายถึงเส้นแป้งสาลีในซุปมิโสะที่อยู่แถบเมืองนาโงย่า ส่วนผสมที่นำมาใช้หลักๆ ได้แก่ น้ำซุปปลาโอตากแห้งและเส้นแน่นๆ ที่ทำจากแป้งและน้ำเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเนื้อไก่ สึกิมิ-ทะมะโกะ (ไข่ดาวน้ำ) กระเทียม เห็ดชิตาเกะ และข้าวปั้น และบางครั้งจะใช้เส้นคิชิเมน (เส้นแบน) แทนเส้นอุด้ง คุณอาจใช้ฝาหม้อแทนชามเล็กๆ เพื่อกินเส้นและน้ำซุปหลังจากที่เริ่มเย็นลงแล้ว น้ำซุปที่เหลือสามารถนำไปทำเป็นข้าวต้มแสนอร่อยได้




อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคคันโต


อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคคันโต

ยูบะหรือฟองเต้าหู้ (จังหวัดโทชิกิ)

 
        เมื่อนมถั่วเหลืองเดือดจะมีชั้นบางๆ เป็นแผ่นอยู่ด้านบน ยูบะทำโดยค่อยๆ ตักแผ่นนี้ออกมา ยูบะมาจากประเทศจีนพร้อมกับเต้าหู้ และกลายเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารของญี่ปุ่นตั้งแต่นั้นมา ยูบะอาจเป็นแบบแห้งที่นำไปห่อไส้ต่างๆ หรือนำไปใส่ซุปหรืออาหารต่างๆ หรือแม้แต่ทานกับโชยุและวาซาบิสด (ฮอสแรดิชของญี่ปุ่น) เหมือนกับซาชิมิ ปัจจุบันยูบะถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังทำไม่ยาก นอกจากนิกโกะ (โทชิกิ) แล้ว เกียวโตก็มีชื่อเสียงในการผลิตยูบะเช่นกัน ในเมืองประวัติศาสตร์เหล่านี้ ยูบะเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากคนทุกวัย

นาเมะโร(จังหวัดจิบะ)


        นาเมะโรเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวประมงในแถบชายฝั่งของแหลมโบโซ-ฮันโตทางตอนใต้ของจังหวะจิบะ ส่วนผสมหลักคือปลาทูแขก ปลาซาร์ดีน ปลานกกระจอก ปลาซัมมะ หรือปลาทู วิธีทำจะหั่นปลาเป็นชิ้นเล็กๆ เติมมิโสะ จากนั้นโรยด้วยต้นหอม ขิง และใบโหระพาแล้วสับให้ละเอียดจนเป็นเนื้อเดียวกัน ต้นหอมและขิงจะเป็นตัวดับกลิ่นคาวปลา นาเมะโรย่างจะเรียกว่าซังกะยะกิ ส่วนนาเมะโรที่ผสมสุ (น้ำส้มสายชู) จะเรียกว่าสึนาเมะโร และเมื่อนำไปวางบนข้าวแล้วเทชาเขียวลงไปจะเรียกว่าซงฉะ อาหารอร่อยเหล่านี้จะเน้นที่รสชาติมากกว่ารูปร่างหน้าตา และมีคุณค่าสมเป็นอาหารของชาวประมง

มงจะยะกิ (โตเกียว)



         แต่เดิมมงจะยะกิเป็นอาหารทานเล่นของเด็กในเมืองโตเกียว และตอนนี้กลายเป็นของขึ้นชื่อของโตเกียวแล้ว วิธีทำก่อนอื่นให้ผัดส่วนผสมต่างๆ เช่น ปลาหมึกตากแห้ง ข้าวโพดหวาน และกะหล่ำปลีบนกระทะเหล็กแบนๆ ที่ตั้งไฟไว้ จากนั้นคลุกส่วนผสมเหล่านี้รวมกันบนกระทะ แหวกตรงกลางออกให้เป็นหลุมกลมๆ แล้วเทส่วนผสมแป้งเหลวๆ ลงไปในหลุมนั้น คุณอาจใช้ตะหลิวอันเล็กๆ ผัดส่วนที่เกือบสุก แล้วตักส่วนที่สุกแล้วที่ติดอยู่หลังตะหลิวเข้าปากได้เลย มงจะยะกิมีที่มาจากอะซะกุสะในโตเกียวหรือจากจังหวัดกุนมะ แต่ปัจจุบันเมืองทสุกิชิมะในเขตจูโอเป็นที่รู้จักกันทั่วญี่ปุ่นในนาม “เมืองแห่งมงจะยะกิ” ถ้ามีโอกาสไปย่านนี้ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกินซ่าก็อย่าลืมแวะไปลองชิม

ฟุคะงะวะเมะชิ (โตเกียว) 



      ฟุคะงะวะเมะชิเป็นอาหารยอดนิยมในโตเกียว เป็นหอยแกะเปลือกและต้นหอมผัดกับมิโสะ เสิร์ฟพร้อมข้าวและซุป สำหรับฟุคะงะวะเมะชิที่ใช้หอยตัวใหญ่ในฤดูหอย (ฤดูใบไม้ผลิ) น้ำจากหอยที่ผสมกับมิโสะจะสร้างรสชาติที่อร่อยโดดเด่นขึ้นมา แม้ว่าตอนนี้คุณอาจนึกภาพไม่ค่อยออก แต่ครั้งหนึ่งย่านฟุคะงะวะ เคยเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองประมง มีหอยอุดมสมบูรณ์ที่บริเวณปากแม่น้ำซุมิดะงะวะ ร้านอาหารบางแห่งในย่านนี้ยังคงมีฟุคุกาวะเมะชิขายอยู่ ดังนั้นถ้าคุณสังเกตเห็นป้ายขณะเดินเล่นในเมือง ก็อาจได้สัมผัสความอร่อยเหมือนคนในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603-1867)




อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคโทโฮะกุ


อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคโทโฮะกุ

ซาซาคามะโบโกะ (จังหวัดมิยะงิ)




         คามะโบโกะ (ลูกชิ้นปลา) มีวิธีการทำโดยบดปลาเนื้อขาวให้ละเอียด นวดเข้ากับเกลือ มิริน (เหล้าหวานสำหรับปรุงอาหาร) น้ำตาล และแป้ง จากนั้นนำไปนึ่งหรือย่าง อย่างไรก็ตาม ซาซาคามะโบโกะ เป็นชื่อที่ตั้งตามรูปร่างที่มีลักษณะเหมือนใบไม้ไผ่ (ซาซา) และรอยที่เกิดจากการปิ้ง ซาซาคามะโบโกะเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดมิยะงิที่นิยมซื้อเป็นของขวัญหรือของฝาก ซาซาคามะโบโกะที่มีชื่อเสียงที่สุดมาจากเมืองเซ็นไดซึ่งมีร้านทำซาซาคามะโบโกะ แบบโฮมเมดมาเป็นเวลานาน หลายปีตั้งเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ที่เมืองชิโอะงะมะ อิชิโนะมากิ เคเซนนุมะ วะตะริ และโอนางาวะก็ผลิตซาซาคามะโบโกะเช่นกัน กล่าวกันว่าอาหารประเภทนี้มีต้นกำเนิดจากเนื้อปลาสับที่นวดด้วยมือจนเหนียว แล้วนำไปย่างเพื่อถนอมปลาลิ้นหมาที่จับได้ตามฤดูกาล

วังโกะ-โซบะ (จังหวัดอิวะเตะ)

       
      วังโกะ-โซบะ (เส้นบัควีท) เป็นอาหารพื้นเมืองของอิวะเตะ มีวิธีการรับประทานที่น่าสนุกและไม่เหมือนใคร ทันทีที่คุณทานชามแรกหมด พนักงานจะเทเส้นโซบะลวกใหม่ลงในชามเปล่าของคุณทันทีพร้อมตะโกนเสียงดัง และจะคอยเติมอยู่เรื่อยๆ จนกว่าคุณจะทานต่อไม่ไหว! แต่ละครั้งจะเสิร์ฟเส้นประมาณหนึ่งคำเท่านั้น ฉะนั้นถ้าคุณเป็นผู้ชายทั่วไปก็น่าจะทานได้ 50-60 ชาม บางคนบอกว่าธรรมเนียมการกินแบบนี้มาจากการที่เจ้าของที่พักที่เสิร์ฟอาหาร ให้แขกจนกว่าจะอิ่ม ปัจจุบันอาหารชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วญี่ปุ่น ว่าเป็นของขึ้นชื่อของเมืองโมริโอกะ และเมืองฮะนะมะกิ เทคนิคในการกินให้ได้มากๆ คือซูดเส้นแล้วกลืนโดยไม่ต้องเคี้ยว ที่เมืองโมริโอกะและเมืองฮะนะมะกิจะจัดการแข่งขัน ชิงแชมป์การกินระดับประเทศขึ้นทุกปี ฉะนั้นถ้าคุณมั่นใจในความสามารถด้านการกินของคุณแล้วละก็ ทำไมไม่ลองลงแข่งดูบ้างล่ะ

คิริทัมโปะ (จังหวัดอะคิตะ) 



        คิริทัมโปะ เป็นอาหารพื้นเมืองยอดนิยมของจังหวัดอะคิตะ ปกติจะรับประทานกันในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงเดือนมีนาคม โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายนซึ่งในตลาดจะเริ่มวางขายแป้งข้าวเหนียวจากข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยว คิริทัมโปะคือข้าวที่นำมานวดแล้วเสียบไม้ย่าง จากนั้นหั่นเป็นชิ้นความยาว 5 ซม. และนำไปปรุงในกระทะกับหญ้าเจ้าชู้ ต้นหอมจีน เห็ดไมตะเกะ ผักตามฤดูกาล รวมทั้งผักชีญี่ปุ่นและไก่ รสชาติเฉพาะแบบนี้ต้องไปสัมผัสเองที่อะคิตะ แต่เดิมอาหารแบบนี้ทำขึ้นเพื่อให้คนตัดไม้และนักล่าสัตว์สามารถนำติดตัวไปทานได้ในระหว่าง ทำงานบนภูเขา ชื่อคิริทัมโปะมาจากรูปทรงที่ดูคล้ายทัมโปะ-ยาริ (ปลอกปลายหอกทำจากหนังซึ่งมีลูกบอลผ้ายัดฝ้ายอยู่ด้านใน)



อาหารท้องถิ่นของฮอกไกโด


อาหารท้องถิ่นของฮอกไกโด

อาหารทะเล

        ปลาสดและอาหารทะเลแปรรูปหลากหลายชนิดเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศ ให้มาที่ฮอกไกโด อาหารทะเลสดอร่อยนานาชนิด อาทิ ปู หอยเชลล์ หอยเม่นทะเล ไข่ปลาแซลมอน ปลาแซลมอน ปลาเฮอร์ริง ปลาลิ้นหมา ปลาค็อด ปลาฮอกเกะ ปลาหมึก ปลาหมึกยักษ์ กุ้ง หอยเป๋าฮื้อ หอยปีกนก และสาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มาจากทะเลทางเหนือเหล่านี้มีความหอมอร่อยเป็นที่สุด และจัดเป็นอาหารทะเลชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะปูซึ่งคุณจะได้เอร็ดอร่อยกับปูราชินี ปูขน ปูอลาสก้าพันธุ์แดง หรือปูอลาสก้าพันธุ์น้ำเงินโดยขึ้นอยู่กับฤดูและสถานที่ เมื่อถึงฤดู ปูจะมีขนาดใหญ่และรสหวาน ไม่ว่าจะนำไปต้มในน้ำเกลือหรือทำเป็นซาชิมิ ส่วนหอยเม่นทะเลจะกินสาหร่ายเป็นอาหาร ซึ่งซาชิมิหอยเม่นมีรสชาติอร่อยมากจนคุณควรจะลองสักครั้งหนึ่งในชีวิต รสชาติหวานกลมกล่อมแบบนี้หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วนอกจากฮอกไกโดเท่านั้น เราขอแนะนำให้คุณไปที่ตลาดเพื่อจะได้ทานอาหารทะเลสดๆ ที่นั่นเลย ร้านอาหารบางแห่งมีอาหารทะเลแบบพิเศษในราคาไม่แพงนัก เช่น ดงบุริเมะชิ หรือข้าวหน้าหอยเม่นทะเล ไข่ปลาแซลมอน หรือหอยเชลล์เสิร์ฟในชาม

อิชิคะริ-นาเบะ


       อิชิคะริ-นาเบะเป็นอาหารตามแบบฉบับของฮอกไกโดโดยใช้ปลาแซลมอนสดทั้งตัวตั้งแต่หัว จนถึงหาง ชื่อนี้มาจากแม่น้ำอิชิคะริ-กาวะซึ่งโด่งดังเรื่องการจับปลาแซลมอน ในแถบเมืองโอบิฮิโระจะเรียกอาหารประเภทนี้ว่าโทคะจิ-นาเบะ วิธีทำจะนำปลาแซลมอนชิ้นหนาไปต้มกับผัก เต้าหู้ และคอนยะกุ (หัวบุก) ในซุปสาหร่ายที่ปรุงรสด้วยมิโสะ จากนั้นเติมมันฝรั่งและกะหล่ำปลีที่ปลูกในฮอกไกโดลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับอาหารเมนูนี้ คุณจึงได้ดื่มด่ำกับความอร่อยของฮอกไกโดทั้งจากทะเลและพื้นดิน อิชิคะริ-นาเบะมีต้นกำเนิดมาจากสตูว์แซลมอนและผักของชาวไอนุในช่วงศตวรรษที่ 17-18 และชาวญี่ปุ่นที่มาจากทางใต้ได้เพิ่มมิโสะเข้าไปในภายหลัง

เจงกีสข่าน (เนื้อแกะย่าง)



         เจงกีสข่าน นาเบะ (หม้อ) เป็นกระทะทรงหมวกแบบพิเศษที่ทำจากเหล็กหล่อ นอกจากนี้ยังหมายถึงอาหารที่นำเนื้อแกะสไลด์บางและผักต่างๆ (ถั่วงอก กะหล่ำปลี และฝักทอง) มาทาน้ำมันและย่าง บางทีชื่อนี้อาจได้มาเพราะเป็นอาหารโปรดของเจงกีสข่าน ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล หรือบางทีอาจมาจากทหารมองโกเลียที่ย่างเนื้อแกะ ในหมวกนักรบของตน แต่ไม่ว่าอันไหนจะเป็นเรื่องจริง อาหารเมนูนี้ก็ขึ้นชื่อในเรื่องความอร่อยและรสชาติธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ร้านอาหารหลายแห่งในฮอกไกโดเชี่ยวชาญในการทำเจงกีสข่าน นาเบะ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในร้านขายเบียร์ขนาดใหญ่ เช่น ซัปโปโร เบียร์ การ์เด้น และคิริน เบียร์ การ์เด้น ที่มักมีนักท่องเที่ยวนั่งกันแน่นขนัด  




รวมคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น



รวมคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น




การออกเสียงคำทักทาย




การออกเสียง คำทักทาย




จำนวนนับ


                      จำนวนนับ

                1 いち  อ่านว่า อิ-จิ
                
                2 に     อ่านว่า นิ

                3 さん  อ่านว่า ซัน

                4 よん อ่านว่า ย่ง

                5 ご    อ่านว่า โก๊ะ
   
                6 ろく   อ่านว่า โหล่-กุ๊

                7 なな  อ่านว่า น๊า-หน่า

                8 はち อ่านว่า ฮา-จิ

                9 きゅう อ่านว่า คิว

                10 ゅう อ่านว่า ชู...

                11 じゅういち อ่านว่า จู-อิ-จิ
  
                12 じゅうに อ่านว่า จู-นิ
  
                13 じゅうさん  อ่านว่า จู-ซัน
          
                14 じゅうよん อ่านว่า จู-ย่ง

                15 じゅうご อ่านว่า จู-โก๊ะ

                16 じゅうろく อ่านว่า จู-โหล่-กุ

                17 じゅうなな อ่านว่า จู-น๊า-หน่า

                 18 じゅうはち อ่านว่า จู-ฮา-จิ

                 19 じゅうきゅう อ่านว่า จู-คิว

           แล้วถ้าเป็น 20-90 ล่ะ อ่านยังไง ก็เหมือนเดิมค่ะ เอาคำว่า 10 (จู) ต่อท้ายตัวเลขที่เราต้องการค่ะ

                               20 にじゅう      อ่านว่า นิ-จู

                              30 さんじゅう   อ่านว่า ซัน-จู

                              40 よんじゅう   อ่านว่า ย่ง-จู

                              50 ごじゅう     อ่านว่า โก๊ะ-จู

                              60 ろくじゅう   อ่านว่า โหล่-กุ๊-จู

                              70 ななじゅう  อ่านว่า  หน่า-น๊า-จู

                              80 はちじゅう    อ่านว่า ฮา-จิ-จู

                              90 きゅうじゅう    อ่านว่า คิว-จู

               มาถึงตรงนี้คงนับคล่องกันแล้งนะคะ เรามานับต่อให้ถึงล้านเลยดีมั้ยคะ อิอิ เอาถึงพันก่อนนะ
                            
                             100 ひゃく  อ่านว่า เหียะ-กึ๊200 にひゃくอ่านว่า นิ-เหียะ-กึ๊

                             300 さんびゃく   อ่านว่า ซัม-เบี่ยก-กึ (จำคำอ่านตรงนี้ด้วย)

                             400 よんひゃく   อ่านว่า ย่ง-เหียะ-กึ๊

                             500 ごひゃく       อ่านว่า โก๊ะ-เหียะ-กึ๊

                             600 ろっぴゃく    อ่านว่า หลบ-เปี๊ยก-คึ (จำคำอ่านตรงนี้ด้วย)

                             700 ななひゃく    อ่านว่า น๊า-หน่า-เหียะ-กึ๊

                             800 はっぴゃく   อ่านว่า หับ-เปี๊ยก-คึ (จำคำอ่านตรงนี้ด้วย)

                             900 きゅうひゃく  อ่านว่า คิว-เหียะ-กึ๊

                
                 เหนื่อยรึยัง อีกนิดเดียวค่ะ มาต่อกัน
                             
                            1,000 せん อ่านว่า เซน

                            2,000 にさん อ่านว่า นิ-เซน

                            3,000 さんぜん อ่านว่า  ซัง-เซน

                            4,000 よんせん อ่านว่า  ย่ง-เซน

                            5,000 ごせん อ่านว่า  โกะ-เซน

                           6,000 ろくせん อ่านว่า  หลก-เซน (จำคำอ่านตรงนี้ด้วย)

                           7,000 ななせん อ่านว่า  หน่า-น๊า-เซน 

                           8,000 はっせん อ่านว่า  หัด-เซน (จำคำอ่านตรงนี้ด้วย)

                           9,000 きゅうせん อ่านว่า  คิว-เซน


                เอาล่ะค่ะ เราเดินทางมาถึงตอนท้ายกันแล้วค่ะ เราจะนับเลขให้ถึง 1 ล้านกันค่ะ

                             10,000 いちまん  อ่านว่า อิ-จิ-มัง



      ตัวเลขญี่ปุ่นมีนับถึงแค่ “หมื่น” นะคะ อ้าว.. แล้วถ้าเราจะอ่านมากกว่าหมื่นจะทำยังไงล่ะ ไม่ยากค่ะ 1 
แสน ก็คือ 10 หมื่นใช่มั้ยคะ 

                            100,000 じゅうまん    อ่านว่า จู-มัง (คือ 10 หมื่นงัยคะ)



          แล้วถ้าเป็น 1 ล้านล่ะ แน่นอน ก็ต้องเป็น 100 หมื่นใช่มั้ยเอ่ย...


                             1,000,000 ひゃくまん     อ่านว่า เหียะ-กึ-มัง 





คำทักทายเบื้องต้น


คำทักทายเบื้องต้น

おはようございます。(โอะฮะโย โกซะอิมัส) = สวัสดีตอนเช้า   
こんにちは。(คนนิจิวะ) = สวัสดีตอนกลางวัน   
こんばんは。(คมบังวะ) = สวัสดีตอนเย็น  
おやすみなさい。(โอยาซึมินะไซ) = ราตรีสวัสดิ์/ฝันดีนะ    
がんばってください。(กัมบัตเตะคุดะไซ) = พยายามเข้านะจ๊ะ  
さようなら。(ซาโยนะระ) = ลาก่อน  
おげんきですか?。( Ogenki desuka) = สบายดีหรือค่ะ  
はい、げんきです。( Hai、genki desu)= ค่ะ、สบายดีค่ะ  
いいえ、げんきではありません。(Iie、genkidewa arimasen) =ไม่ค่อยสบายค่ะ  
ありがとうございます。(Arigatoo gozaimasu) =  ขอบคุณค่ะ  
どういたしまして。( Doo itashimashite) = ไม่เป็นไรค่ะ  
ではまて、ありましょ。( Dewa、mata aimasho) =  แล้วพบกันใหม 
 はい、またあいましょ。(Hai、mata aimasho ) =  ค่ะ、แล้วพบกันใหม่  
すみません。( Somimasen) =  ขอโทษ (ขอทาง , สอบถาม) 
 みんなさん   (มินนะซัง)    =  ทุกคน 
せんぱい (เซมไป)          =  รุ่นพี่  
せんせい (เซนเซ)            =  อาจารย์  
おかあさん (โอก้าซัง)      = คุณแม่ ลองเอาไปเรียกท่านดูละกัน 
おとうさん (โอโต้ซัง       = คุณพ่อ  
おにいさん (โอนี่ซัง)       = พี่ชาย  
おねえさん (โอเน่ซัง)   = พี่สาว การใช้ก็เหมือนคำว่าพี่ชายทุกอย่างแหละ  
おとうと (โอโต้โตะ)          = น้องชายไม่ค่อยนิยมใส่"ซัง"กันนะ เคยเห็นแต่"โอโต้โตะจัง"  
いもうと (อิโม้โตะ) = น้องสาว ใช้เหมือนคำว่าน้องชาย  
かわいい (คาวาอี้)  = น่ารัก คำนี้เจอบ่อย ยิ่งที่ลากเสียง"อี้"ยาวๆละก็นะไปดูตาม 
คอนเสิร์ตญี่ปุ่นเลย 
あいしてる (ไอชิเตะรุ) = ใส่"โยะ"ข้างหลังจะให้ความรู้สึกคล้ายๆแบบว่า"รักนะ"






รูปแบบตัวอัษร


ฮิระกะนะ (ひらがな)

ใช้เขียนคำของญี่ปุ่นมีทั้งหมดดังต่อไปนี้
お(โอะ)
え(เอะ)
う(อุ)
い(อิ)
あ(อะ)
วรรคอะ
こ(โคะ)
け(เคะ)
く(คุ)
き(คิ)
か(คะ)
วรรคคะ
そ(โซะ)
せ(เซะ)
す(ซุ)
し(ชิ)
さ(ซะ)
วรรคซะ
と(โทะ)
て(เทะ)
つ(ทซุ)
ち(จิ)
た(ทะ)
วรรคทะ
の(โนะ)
ね(เนะ)
ぬ(นุ)
に(นิ)
な(นะ)
วรรคนะ
ほ(โฮะ)
へ(เฮะ)
ふ(ฟุ)
ひ(ฮิ)
は(ฮะ)
วรรคฮะ
も(โมะ)
め(เมะ)
む(มุ)
み(มิ)
ま(มะ)
วรรคมะ
よ(โยะ)

ゆ(ยุ)

や(ยะ)
วรรคยะ
ろ(โระ)
れ(เระ)
る(รุ)
り(ริ)
ら(ระ)
วรรค ระ


ん(อึน)
を(โอะ)
わ(วะ)

 

คะตะกะนะ (かたかな)

ใช้เขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และ ใช้เมื่อต้องการเน้นคำพูด

オ(โอะ)

エ(เอะ)

ウ(อุ)

イ(อิ)

ア(อะ)

วรรค อะ

コ(โคะ)

ケ(เคะ)

ク(คุ)

キ(คิ)

カ(คะ)

วรรค คะ

ソ(โซะ)

セ(เซะ)

ス(ซุ)

シ(ชิ)

サ(ซะ)

วรรค ซะ

ト(โตะ)

テ(เตะ)

ツ(ทซุ)

チ(จิ)

タ(ตะ)

วรรค ตะ

ノ(โนะ)

ネ(เนะ)

ヌ(นุ)

ニ(นิ)

ナ(นะ)

วรรค นะ

ホ(โฮะ)

ヘ(เฮะ)

フ(ฟุ)

ヒ(ฮิ)

ハ(ฮะ)

วรรค ฮะ

モ(โมะ)

メ(เมะ)

ム(มุ)

ミ(มิ)

マ(มะ)

วรรค มะ

ヨ(โยะ)

 

ユ(ยุ)

 

ヤ(ยะ)

วรรค ยะ

ロ(โระ)

レ(เระ

ル(รุ)

リ(ริ)

ラ(ระ))

วรรค ระ

 

 

ン(อึง)

ヲ(โอะ)

ワ(วะ)

 

 

คันจิ (漢字)

เป็นอักษรจีนที่ญี่ปุ่นนำเข้ามาใช้ โดยคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีประมาณ 2,000 คำ


วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

ภาษาญี่ปุ่นสู่AEC



あいさつ(aisatsu)คำทักทาย 


1. はじめまして。ชื่อ で す。どうぞ よろしく。
- Hajimemae. ชื่อ desu. Douzo yoroshiku.
-ฮะจิเมะมาชิเตะ (ชื่อ) เดส โด้โซะ โยะโระชิคุ


- ยินดีที่ได้รู้จัก ฉันชื่อ .... ครับ/ค่ะ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ/ค่ะ


2. おはよう ございます。
-Ohayou gozaimasu.
- โอะฮาโย โกไซอิมัส


-สวัสดีตอนเช้า


3.こんにちは。
-Konnichiwa
-คอนนิจิวะ


-สวัสดีตอนบ่าย

4.こんばんは。
-Konbanwa
-คอนบังวะ


-สวัสดีตอนกลางคืน


5.おやすみなさい。
-Oyasuminasai.
-โอะยะซุมินะไซ


-ราตรีสวัสดิ์


6.ありがとう ございます。
-Arigatou gozaimasu.
-อะริกะโต่ โกะไซอิมัส


-ขอบคุณมากครับ/ค่ะ


7.どういたしまして。
-Douitashimae.
-โดอิตะชิมะชิเตะ


-ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ


8.あついですね。
- Atsuidesune.
- อะซึ่ย เดสเนะ
-ร้อนจังนะครับ/ค่ะ


9.さむいですね。
- Samuidesune.
- ซะมุ่ย เดสเนะ


-หนาวจังนะครับ/ค่ะ


10.いいてんきですね。
- Iitenkidesune.
- อี้เตงกิเดสเนะ


- อากาศดีจังนะครับ/ค่ะ


11.あめですね。
-Amedesune.
-อะเมะ เดสเนะ


-ฝนจะตกนะครับ/ค่ะ
12.すみません/すいません。
-Sumimasen/suimasen.
-ซุมิมะเซง/ซุยมะเซง
- ขอโทษนะครับ/ค่ะ (Excuse me)


13.ごめんなさい。
- Gomennasai.
- โกเมงนาไซ


- ขอโทษนะครับ/ค่ะ (Ì’m sorry)

14.すいません。もう いちど おねがいしま す。
- Suimasen. Mouichido onegaishimasu.
- ซุมิมะเซง โม่อิจิโดะ โอะเนไกชิมัส


- ขอโทษนะครับ รบกวนขออีกครั้งหนึ่งครับ/ค่ะ


15.どうぞ こちらへ。
- Douzo.kochira he
- โดโซะ โคะฉิระเอ๊ะ
- เชิญทางนี้เลยครับ/ค่ะ


16.どうぞ おはいり ください。
- Douzo ohairi kudasai.
- โดโซะ โอะไฮริ คุดะไซ

- เชิญเข้ามาด้านในเลยครับ/ค่ะ