วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคโฮคุริกุ




อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคโฮคุริกุ 

สาเกญี่ปุ่น (จังหวัดนีงาตะ)


 

         นิฮอนชู (เหล้าญี่ปุ่น) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำจากข้าวและเมล็ดข้าวมอลต์ กลั่นด้วยวิธีดั้งเดิมแบบญี่ปุ่น เหล้าเรียกน้ำย่อยประเภทนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกในชื่อสาเกสามารถนำมาอุ่นให้ร้อนทั้งขวด ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม หรือจะเสิร์ฟที่อุณหภูมิห้องหรือแช่เย็นก็ได้ สาเกรสชาติดีต้องอาศัยข้าวที่ปลูกในผืนดินอุดมสมบูรณ์และมีน้ำสะอาดเลี้ยงไม่ขาด สาเกชั้นเลิศของนีงาตะไม่ได้เป็นผลผลิตจากข้าวและน้ำคุณภาพดีเท่านั้น แต่ยังเป็นผลมาจากความหนาวเย็นในฤดูหนาวซึ่งช่วยบ่มสาเกให้มีรสชาติเป็นเลิศ นีงาตะมีโรงกลั่นชั้นยอดที่เรียกว่า “เอจิโกไต” และแบรนด์สาเกจากนีงาตะมีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ซึ่งผับหลายแห่งจะมีหลายแบรนด์ให้เลือกดื่ม

โฮตะรุอิกะ (จังหวัดโทะยะมะ)

 
      
      โฮตะรุอิกะ (ปลาหมึกหิ่งห้อย) เป็นปลาหมึกพันธุ์เล็กที่พบในอ่าวโทะยะมะ ชื่อปลาหมึกหิ่งห้อยมาจากลักษณะเรืองแสงของผิวปลาหมึกที่จะปล่อยแสงสีขาวอมฟ้า เหมือนหิ่งห้อยเมื่อมีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น โดยปกติปลาหมึกจะอาศัยอยู่ในน้ำลึก แต่จะขึ้นมาบริเวณน้ำตื้นเพื่อวางไข่ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม การชมฝูงปลาหมึกหิ่งห้อยแหวกว่ายในบริเวณอ่าวโทะยะมะเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันใน ฤดูใบไม้ผลิของชาวโทะยะมะ ปลาหมึกหิ่งห้อยสามารถรับประทานเป็นซาชิมิ ต้มหรือหมักในโชยุ ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูและมิโสะ หรือทานแบบชาบู-ชาบู (ต้มในกระทะบนโต๊ะ) ก็ได้ ถ้านำไปตากแห้งสักคืนแล้วย่างสักเล็กน้อยจะได้รสชาติขมนิดๆ เหมาะกับเป็นกับแกล้มเวลาดื่มสาเกอย่างยิ่ง


จิบุนิ (จังหวัดอิชิคะวะ)

 

       จิบุนิเป็นอาหารพื้นเมืองของคะนะซะวะ ทำโดยใช้เนื้อเป็ดหั่นบางๆ ชุบแป้งหรือแป้งมัน แล้วนำไปต้มกับฟุ (โปรตีนข้าวเป็นชิ้นเหมือนขนมปังตากแห้ง) เห็ดชิตาเกะ หน่อไม้ และผักชีญี่ปุ่นในน้ำซุปที่ทำจากน้ำสต็อก มิริน (เหล้าหวานสำหรับปรุงอาหาร) น้ำตาล เกลือ โชยุ และสาเก แป้งหรือแป้งมันที่อยู่ด้านนอกจะช่วยรักษารสชาติของเนื้อและทำให้น้ำสต็อกข้นขึ้น ขูดวาซาบิลงไปก่อนรับประทานเพื่อเพิ่มรสชาติ ชื่อจิบุอาจมาจากชื่อของผู้คิดค้นอาหารเมนูนี้ หรือมาจากเสียงจิบุ-จิบุที่ได้ยินเวลาทำเมนูนี้ แต่เดิมใช้เป็ดป่าในการทำจิบุนิ แต่เนื่องจากปัจจุบันค่อนข้างหายากและมีราคาแพง จึงใช้นิยมใช้เป็ดไอกาโมะ (พันธุ์ผสมระหว่างเป็ดป่ากับเป็ดเลี้ยง) หรือไก่แทน




วัน




ひ hi ฮิ วัน

                
                        (げつようび)      เกะทสึโย่บิ  : วันจันทร์                      
               
                   (かようび)         ขะโย่บิ        : วันอังคาร               

       (すいようび)     ซุยโย่บิ        : วันพุธ          

             (もくようび)       โมะคุโย่บิ    : วันพฤหัสบดี        

          (きんようび)      คิงโย่บิ       : วันศุกร์          
            
          (どようび)         โดะโย่บิ      : วันเสาร์         

 
  (にちようび)      นิจิโย่บิ       : วันอาทิตย์
 

ติดต่อเรา




ติดต่อเรา
                                     

           m5.1watanida@tunu.ac.th

          m5.1maturos@tunu.ac.th 
             
                                                                     m5.1supisra@tunu.ac.th 
          
         m5.1nattarika@tunu.ac.th




เดือน ทั้ง12



เดือนทั้ง 12 เดือน



                         
                                            1.(いちがつ)             อิจิกะทสึ : มกราคม
                                   
                                            2.(にがつ)                นิกะทสึ : กุมภาพันธ์

                                            3.(さんがつ)             ซังกะทสึ : มีนาคม 

                                            4.(しがつ)                ชิกะทสึ : เมษายน 

                                            5.(ごがつ)                โก๊ะกะทสึ : พฤษภาคม 

                                            6.(ろくがつ)              โระคุกะทสึ : มิถุนายน 

                                            7.(しちがつ)              ชิจิกะทสึ : กรกฎาคม

                                            8.(はちがつ)             ฮะจิกะทสึ : สิงหาคม 

                                            9.(くがつ)                  คุกะทสึ : กันยายน 

                                            10.(じゅうがつ)            จูกะทสึ : ตุลาคม 

                                            11. (じゅういちがつ)     จูอิจิกะทสึ : พฤศจิกายน 


                                            12.(じゅうにがつ)         จูนิกะทสึ : ธันวาคม




สี


(色)(iro) =  สี



                                   1. 青 (あお)(ao)   =    สีน้ำเงิน

                                   2. 赤い(あか)(aka)  =     สีแดง

                                   3. 黄色(きいろ)(kiiro)  =     สีเหลือง

                                   4. 紫(むらさき)(murasaki)  =     สีม่วง

                                   5. 緑色(みどり)(midori)  =     สีเขียว

                                  6. 茶色(ちゃいろ)(chairo)  =     สีน้ำตาล

                                   7.    黒(くろ)(kuro)  =     สีดำ

                                   8. 白(しろ)(shiro)  =     สีขาว

                                   9. グレー (gure) หรือ 灰色(はいいろ)(haiiro)  =     สีเทา

                                   10. ピンク  (pinku)  =     สีชมพู

                                   11. 桃色(ももいろ)(momoiro)   =    สีพีช
                   
                                   12. ベージュ  (beju)  =     สีเนื้อ

                                    13.  ゴールド (gorudo)  =    สีทอง

                                     14. オレンジ (orenji) =     สีส้ม

                                     15. 水色(みずいろ)(mizuiro)  =     สีฟ้าอ่อน


                                     16. 黄緑(きみどり)(kimiiro)  =    สีเขียวอ่อน




สิ่งของ




(もの)โมะโนะ : สิ่งของ


テレビ เทะเระบิ : โทรทัศน์


扇風機 (せんぷうき)เซ็มปูขิ : พัดลม


エアコン  แอคง : เครื่องปรับอากาศ


カメラ คะเมะระ : กล้องถ่ายรูป


電話 (でんわ)เด็งวะ : โทรศัพท์


携帯電話 (けいたいでんわ)เคไตเด็งวะ : โทรศัพท์มือถือ


時計 (とけい)โทะเคะ : นาฬิกา


コンピューター  คมปิวตา : คอมพิวเตอร์


石鹸 (せっけん) เส็กเค็ง : สบู่


歯磨き (はみがき)ฮะมิงะขิ : ยาสีฟัน


歯ブラシ (はブラシ)ฮะบุระฉิ : แปรงสีฟัน


シャンプー ชัมปู : แชมพู


タオル  ทะโอะหรุ : ผ้าเช็ดตัว


ハンカチ ฮันคะจิ : ผ้าเช็ดหน้า


洗剤 (せんざい) เซ็งไซ : ผงซักฟอก


洗濯機 (せんたくき)เซ็นตะขุคิ : เครื่องซักผ้า


玩具 (おもちゃ)โอะโมะฉะ : ของเล่น


人形 (にんぎょう)นิงเงียว : ตุ๊กตา


皿 (さら)ซะระ : จาน


スプーン สุปูน : ช้อน


フォーク โฟขุ : ส้อม


茶碗 (ちゃわん)ฉะวัง : ชาม


ナイフ ไนฝุ : มีด

อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคจูบุ/โตไก


อาหารท้องถิ่นของภูมิภาคจูบุ/โตไก 
โฮโต (จังหวัดยะมะนะชิ)


      โฮโตเป็นอาหารพื้นเมืองของจังหวัดยะมะนะชิ เป็นเส้นคล้ายเส้นอุด้ง (เส้นแป้งสาลี) ในซุปมิโสะ และใส่ฟักทองและผักอื่นๆ เส้นโฮโตจะกว้างและแบนกว่าเส้นแป้งสาลีทั่วไป และจะใส่ลงในหม้อแบบสดๆ โดยไม่ต้มก่อน เส้นโฮโตกับฟักทองนิ่มๆ ในน้ำซุปมิโสะเป็นอาหารเลิศรส อาจเติมผักอื่นๆ ลงไปด้วยตามชอบ เช่น มันฝรั่ง และเห็ดต่างๆ รวมทั้งเนื้อหมูและเนื้อไก่ ตามความเชื่อโบราณเชื่อกันว่าถ้ากินฟักทองในวันทักษิณายัน (วันที่กลางวันสั้นที่สุดในรอบปี ประมาณวันที่ 22 ธันวาคม) แล้วจะไม่เป็นหวัด และประเพณีนี้มีการถือปฏิบัติกันในจังหวัดยะมะนะชิ โฮโตอุ่นๆ ใส่ฟักทองมากคุณค่าจะทำให้คุณรู้สึกอุ่นขึ้นในวันที่อากาศหนาวเย็นอย่างแน่นอน

อุนางิหรือปลาไหล (จังหวัดชิซุโอะกะ)


       ทะเลสาบฮะมะนะซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำจืดและน้ำเค็มมาบรรจบกันเป็นแหล่ง เพาะเลี้ยงปลาไหลที่มีชื่อเสียง ปลาไหลมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และญี่ปุ่นมีประเพณีในการกินปลาไหลในฤดูร้อนซึ่งอากาศร้อน และความชื้นมักทำให้คนไม่อยากอาหาร ปลาไหลนำมาทำเป็นอาหารได้หลายวิธี แต่ที่นิยมที่สุดคือคะบะยะกิ (ปลาไหลย่างถ่าน) ในแถบคันโตจะนำชิ้นเนื้อปลาไหลมาย่างบนเตาถ่านแล้วนำไปนึ่ง จากนั้นก็นำมาย่างด้วยความร้อนปานกลางอีกครั้งและทาน้ำมันไปด้วยขณะที่ย่าง ส่วนในแถบคันไซจะนำปลาไหลทั้งตัวที่ควักไส้ออกแล้วมาเสียบไม้ย่างและทาน้ำมันไปด้วย อุนาจูหรืออุนาดงที่มีปลาไหลย่างโปะบนข้าวสวยร้อนๆ ราดด้วยน้ำซอสเพิ่มรสชาติเป็นเมนูยอดนิยมตลอดกาลไม่ว่าในฤดูใด ร้านอาหารหลายแห่งบริเวณทะเลสาบฮะมะนะมีเมนูเหล่านี้ในรายการอาหาร

มิโสะคัตสึ (จังหวัดไอจิ)


        มิโสะคัตสึซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตในจังหวัดไอจิ คือทงคัตสึ (หมูชิ้นทอด) ที่ราดด้วยซอสที่ทำจากมิโสะ โดยปกติทั่วประเทศญี่ปุ่นจะกินหมูชิ้นทอดกับซอสที่คล้ายๆ ซอสวูสเตอร์ แต่ในภูมิภาคโตไกซึ่งมีเมืองนาโงย่า จะใช้ซอสต้นตำรับที่ทำจากมิโสะแทน เมื่อคุณสั่งหมูชิ้นทอดที่ร้านอาหารในนาโงย่า พนักงานอาจถามคุณว่า “รับมิโสะหรือซอส?” มิโสะที่นำมาใช้คือฮัจโจ-มิโสะที่มีการปรุงรสอย่างดีและเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดไอจิ ซอสมิโสะจะมีความหวานจากน้ำซุปปลาโอและน้ำตาล ถ้าคุณไปแถวนาโงย่าต้องไม่พลาดชิมมิโสะคัตสึ ส่วนในเมืองอื่นๆ คุณอาจพบมิโสะคัตสึที่ใส่มิโสะอยู่ระหว่างตัวแป้งกับเนื้อหมู ไม่ใช่ราดลงบนชิ้นหมูทอดหลังจากที่ทำเสร็จแล้ว

มิโสะนิโคมิ (จังหวัดไอจิ)



       เส้นอุด้ง (เส้นแป้งสาลี) ในซุปมิโสะสามารถหาทานได้ทั่วไปทุกที่ในญี่ปุ่น แต่มิโสะนิโคมิมักจะหมายถึงเส้นแป้งสาลีในซุปมิโสะที่อยู่แถบเมืองนาโงย่า ส่วนผสมที่นำมาใช้หลักๆ ได้แก่ น้ำซุปปลาโอตากแห้งและเส้นแน่นๆ ที่ทำจากแป้งและน้ำเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเนื้อไก่ สึกิมิ-ทะมะโกะ (ไข่ดาวน้ำ) กระเทียม เห็ดชิตาเกะ และข้าวปั้น และบางครั้งจะใช้เส้นคิชิเมน (เส้นแบน) แทนเส้นอุด้ง คุณอาจใช้ฝาหม้อแทนชามเล็กๆ เพื่อกินเส้นและน้ำซุปหลังจากที่เริ่มเย็นลงแล้ว น้ำซุปที่เหลือสามารถนำไปทำเป็นข้าวต้มแสนอร่อยได้